รูป

Welcome To My Blogger

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

ผลกระทบของเทคโนโลยี

ในภาพรวมของเทคโนโลยีทั้งหมด
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความจำเป็นและเพิ่มความสำคัญเป็นลำดับมากขึ้นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์แม้ว่าการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเอื้ออำนวยในด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายและอายุยืนนานขึ้น หากการการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ โดยมิได้พิจารณาอย่างสุขุมรอบคอบและกว้างไกลแล้ว ย่อมเกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและสมดุลทางธรรมชาติอย่างมหันต์ เมื่อมองไปข้างหน้า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรช่วยเตรียมให้มนุษย์มีความพร้อมที่จะเผชิญกับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต และปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ข้อที่พึงตระหนัก คือ การดำรงชีวิตของมนุษย์มิใช่เพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากธรรมชาติ หรือการทำตนอยู่เหนือธรรมชาติ หากแต่มนุษย์ต้องเรียนรู้ธรรมชาติที่จะดำรงชีวิตอย่างสันติร่วมกับผู้อื่น กับสังคมวัฒนธรรม และกับธรรมชาติ
ดังนั้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน จะต้องเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการทางด้านความรู้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้บุคคลในสังคม รู้จักวิธีการคิดอย่างมีเหตุผล มีวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่มีระบบ อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญาซึ่งวิธีการคิดนั้นเป็นวิธีเดียวกันกับที่ใช้อยู่ในกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ในการใช้เทคโนโลยีสามารถที่จะก่อให้เกิดผลกระทบได้ทั้งด้านที่มีประโยชน์และด้านที่เป็นผลเสีย
1. ด้านที่เป็นประโยชน์ ผลของการใช้เทคโนโลยีได้ทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อันมีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย เช่น อุปกรณ์สำหรับใช้ในการตรวจและรักษาโรค โทรเลข โทรศัพท์ อุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ การค้นพบคอมพิวเตอร์และการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการปฏิบัติงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ทางด้านการแพทย์ การสำรวจ การประมง การควบคุมอากาศยานและยานพาหนะ การใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในสถานประกอบการอุตสาหกรรมและการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศน์ (Information system) การพัฒนาระบบการชลประทานและการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก การผลิตปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทำประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิตและการถนอมอาหาร และการใช้เทคโนโลยีในการผลิตเสื้อผ้าและเครื่องนุ่มห่ม
2. ด้านความเสียหายหรือสูญเสีย
2.1 การเกิดสภาพการเน่าเสียของน้ำ
2.2 การเกิดปัญหาขยะและสิ่งปฏิกูล
- กลิ่นเน่าเหม็น
- เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและพาหะนำเชื้อโรค
- เกิดสภาพที่ไม่น่าดูและไม่พึงปรารถนา
- เป็นแหล่งสะสมสารพิษ
2.3 การเกิดปัญหาการแพร่กระจายของสารเคมีที่เป็นสารพิษ
2.4 การเกิดปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อโรคและพาหะนำโรค
2.5 การเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บความพิการหรือมีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอของประชากร
- ความเครียด
- เสียงที่ดังเกินไป
- ความผิดพลาดจากการปฏิบัติงานของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
- การแพร่ระบาดของโรค
- การได้รับสารพิษ
2.6 การเกิดปัญหาการลดลงของทรัพยากรต่างๆ
- การลดลงของทรัพยากรป่าไม้
- การลดลงของทรัพยากรป่าชายเลน
- การลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำ
การป้องกันและแก้ไขปัญหา
การป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากเทคโนโลยีเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากและได้หลาย ๆ ครั้ง การแก้ไขปัญหาจะต้องมีการประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจต้องมีวิธีการที่แตกต่างกันไป เช่น
1. การทำให้รู้จักคุณค่า และมีปริมาณจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. การรู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
3. การรู้จักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การเลือกดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพยายามหาวิธีการเพิ่มผลกระทบด้านที่เป็นประโยชน์ การพยายามเลือกใช้วิธีการที่ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านความเสียหาย
4. การควบคุม การเสนอแนะ และการชักชวน เป็นการดำเนินงานโดยหน่วยงานของรัฐบาล องค์การ บริษัท นักวิชาการและบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น
- การควบคุม อาจเกิดจาก กฎหมาย ระเบียบ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
- การเสนอแนะ เป็นการเสนอแนะข้อเสนอต่างๆ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบของเทคโนโลยี เช่น ตามอนุกรม ISO 14000 อนุกรม ISO18000 และอนุกรม ISO 9000
- การชักชวน เช่น การเผยแพร่ความรู้
5. การเผยแพร่ความรู้ เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบของเทคโนโลยีโดยทั่วไป และการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบของเทคโนโลยี
6. การศึกษา วิจัย ค้นคว้า และทดลอง เป็นการดำเนินงานเพื่อให้ได้รับความรู้สำหรับนำมาใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น การศึกษาและวิจัยเพื่อกำหนดมาตรฐานปริมาณของอินทรีย์สารในน้ำทิ้ง ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดสภาพการเน่าเสียของน้ำขึ้น
7. การวางแผน การจัดการ และการประสานงานในการดำเนินงาน เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการวางแผน การจัดการ และการประสานงานในการดำเนินงาน เนื่องจากการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวนี้มีหน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมผู้ปฏิบัติงาน ผู้ที่ทำการศึกษา วิจัย ตลอดจนนักวิชาการ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่อมนุษย์และสังคม
บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่ คือ การดำเนินธุรกิจ การศึกษา การปกครอง การเมืองภายในประเทศและระหว่างประเทศ ความมั่นคงของประเทศ วัฒนธรรม การพิมพ์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โลกส่วนตัว
ผลกระทบ
1.ผลกระทบด้านกฎหมาย ศีลธรรมและจริยธรรม
- อาชญากรรมบนอินเตอร์เนต
- การพนันบนเครือข่าย
- การแพร่ภาพอนาจารย์บนเครือข่าย
2 ผลกระทบทางบวกและทางลบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีการใช้งานเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง กลายเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือยุคข้อมูลข่าวสาร ก่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษย์ชาติอย่างมหาศาล นั้นหมายถึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามย่อมมีผลกระทบต่อบุคคล องค์กร หรือสังคม ทั้งนี้สามารถจำแนกผลกระทบทั้งทางบวกปละทางลบของการใช้สารสนเทศได้


นาโนเทคโนโลยี
" นาโนฯ ไม่ใช่มีแต่ข้อดีในเรื่องประสิทธิภาพ แต่อย่าลืมว่าผลิตภัณฑ์นาโนฯ บางชนิดต้องใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ซึ่งบางคนอาจมองว่าเป็นข้อเสีย แต่กรรมวิธีการผลิตนั้นจะต้องมีการควบคุมป้องกันสารเคมีตกค้างเข้าสู่ร่างกาย ในต่างประเทศมีการทำวิจัยเรื่องนี้แล้ว แต่ยังไม่มีรายงานชัดเจนว่า อุตสาหกรรมนาโนฯ มีผลกระทบต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างไรหรือไม่"
นอกจากนี้หากมองในด้านมืด ถ้ามีคนสามารถสร้างนาโนฯ เป็นอาวุธทำลายล้าง ที่ไม่ใช่ระเบิด แต่เป็นการเจาะจงทำลายหรือสร้างหุ่นยนต์สังหาร ตามล่าเป้าหมายที่สามารถระบุ รูปพรรณสัณฐานได้ จะเกิดอะไรขึ้น
อีกอย่างที่น่าคิดคือ นาโนฯ ในระดับอุตสาหกรรม บางทีการที่มันเล็กมากก็มีโอกาสปนเปื้อนไปกับน้ำเข้าตัวคนได้ ร่างกายอาจไม่รู้วิธีกำจัดมันเพราะมันเล็กมาก... จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาเรียนรู้เรื่องนี้ เพื่อจะได้คิดหาวิธีควบคุมและป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ต่อไป
" นาโนฯ เป็นโอกาสที่จะทำให้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังมีประเด็นให้คิดพิจารณาอีกมาก ว่าชีวิตแบบไหนล่ะที่เราต้องการ และเป็นที่แน่นอนว่าไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นต่อไปจะต้องเปลี่ยนไป อีกทั้งเรื่องนาโนฯ จะถูกบรรจุไว้ในการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยในอนาคต”


เทคโนโลยีชีวภาพ
บทบาทของเทคโนโลยีชีวภาพ
1. ด้านการแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการแพทย์และการสาธารณสุข ที่สำคัญและเห็นได้ชัดมี 3 ด้านด้วยกันคือ
1.1 การผลิตยา สารปฏิชีวนะเป็นผลผลิตตัวแรกที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม
1.2 การผลิตวัคซีน ต้องพึ่งพาอาศัยกระบวนการทางพันธุวิศวกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยทำการตัดต่อยีนส์ที่ใช้ในการผลิตแอนติเจนเอาไปเป็นต้นแบบในการผลิตวัคซีน 1.3 การผลิตสารวินิจฉัยโรค เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการสร้างแอนติบอดีที่มีความจำเพาะสูงกับแอนติเจน ได้แก่ โมโนโคลนัล แอนติบอดี้ ซึ่งในในการตรวจวินิจฉัยโรค เช่น โมโนโคลนัลแอนติบอดี้ ซึ่งใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งบางชนิด โรคติดเชื้อและโรคหัวใจบางชนิด
1.4 การตรวจวินิจฉัยทางด้านอาชญวิทยา เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการตรวจวินิจฉัยทางด้านอาชญวิทยา หรือนิติเวชวิทยา ซึ่งอาจกระทำได้โดยวิธีการที่เรียกว่า “รอยพิมพ์ DNA”
2. ด้านการเกษตร
2.1 ด้านการจัดการสาขาพืช ซึ่งได้นำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ 4 ทางด้วยกัน คือ
1) การปรับปรุงพันธุ์ เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อให้ได้ลักษณะพืชตามต้องการ เช่น ความต้านทานโรค ให้ผลผลิตมากขึ้น กระบวนการที่ใช้ คือ พันธุวิศวกรรมและการผสมระหว่างเซล
2) การขยายพันธ์ ได้นำเอาวิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยในการขยายพันธ์ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การผลิตเมล็ดพืชเทียม
3) การอารักขาพืช เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อช่วยให้พืชพันธุ์ที่ปลูกมีการเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีและมีความสมบูรณ์แข็งแรง เช่น การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ซึ่งเป็นการใช้แบคทีเรียกำจัดหนอนใบผัก
4) การแปรรูปผลผลิตและของเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น การแปรรูปจากมันสำปะหลังให้เป็นแอลกอฮอล์
2.2 ด้านการจัดการสัตว์ เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในมาใช้ 4 ทาง คือ
1) การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อให้ได้ลักษณะสัตว์ตามต้องการ ซึ่งใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ เช่น เทคนิคทางพันธุ์วิศวกรรม การผสมเทียม การฝากถ่ายตัวอ่อน
2) การขยายพันธ์ ได้นำเอาวิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยในการขยายพันธ์ ได้แก่ การผสมเทียม การฝากถ่ายตัวอ่อน การสร้างและปรับปรุงสถานที่ให้มีความเหมาะสมกับการผสมพันธุ์ วางไข่และเลี้ยงลูกอ่อน การสร้างและปรับปรุงเครื่องฟักไข่
3) การอารักขาสัตว์ เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อให้สัตว์ที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีและมีความสมบูรณ์แข็งแรง เช่น การผลิตวัคซีน การผลิตโปรตีน การผลิตยา การผลิตอาหารหลัก การควบคุมศัตรูของสัตว์
4) การแปรรูปผลผลิตและของเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น นมสดนำมาใช้ทำเป็นนมผง นมกล่อง เนื้อและปลานำมาใช้ทำเป็ฯเนื้อและปลาเค็ม หมู เนื้อ และไก่ นำมาใช้ทำ เป็นไส้กรอก เป็นต้น
3. ด้านอุตสาหกรรม
ผลผลิตจากอุตสาหกรรมจำนวนมากได้ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตและการบำบัดมลสาร ซึ่งอาจดำเนินงานได้โดยการใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ - การพัฒนาพันธุ์พืช เป็นการพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในด้านอุตสาหกรรม เช่น การผสมระหว่างเซลของยีสต์ 2 สายพันธุ์ด้วยกัน การผลิตไม้ดอกที่มีดอก สี ลักษณะของดอกแปลก ดอกสามารถบานคงทนอยู่ได้นาน
- การพัฒนาพันธุ์สัตว์ เป็นการพัฒนาพันธุ์สัตว์เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในด้านอุตสาหกรรม เช่น การปรับปรุงสัตว์พันธ์เนื้อให้มีเนื้อมากและคุณภาพของเนื้อที่ดีขึ้น - การพัฒนาอุตสาหกรรมหมัก เช่น การผลิตอาหาร การผลิตสารปฏิชีวนะ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์
4. ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากจำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้น ทำให้มีขยะและของเสียปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาหาจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องอาศัยความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาช่วยพัฒนากระบวนการกำจัดของเสีย เช่น การออกแบบบ่อ และเครื่องมือที่ใช้ในการสลายตัวของออกซิเจน
อิทธิพลและผลกระทบที่มีต่อการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
ปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น
1. ประชากรเพิ่มขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบด้านต่าง ๆ เช่น ความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ของเสียและสิ่งปฏิกูลมีปริมาณมากขึ้น
2. ด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดผลกระทบเช่น การแข่งขันผลิตสินค้าและบริการ บุคคลมีความต้องการความสะดวกสลายและความปลอดภัยเพิ่มขึ้นคู่แข่งของเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ เทคนิคการสังเคราะห์สารเคมีต่าง ๆ นอกจากนี้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เช่น พันธุวิศวกรรมเป็นวิธีการที่มนุษย์เข้าไปมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านนี้ควรที่จะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะไม่ทำให้ยีนส์ที่ถูกทำขึ้นมาใหม่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมและถูกนำมาใช้ในทางที่จะทำให้สังคมของมนุษยชาติไดรับความเดือดร้อน
ผลกระทบที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการผลิต มีทั้งหมด 3 ด้าน
1. ด้านสังคม ทำให้ขาดความตระหนักในการใช้เทคโนโลยีให้ถูกต้องและมีผลกระทบต่อชุมชน
2. ด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลภาวะต่างๆแก่สิ่งแวดล้อม
3. ด้านเศรษฐกิจ ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการควบคุมการผลิตต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งต้องอาศัยคนที่มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสูง ซึ่งต้องจำเป็นต้องจ้างนักวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ
มาควบคุมการผลิต


เทคโนโลยีทางจีโนม
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
GMO เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสืบพันธ์ และแพร่พันธุ์ต่อไปได้ ดังนั้นหากปล่อยจีเอ็มโอออกสู่สิ่งแวดล้อม แล้วมีสิ่งผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นจะไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้อีกเลย
- พืช GMO อาจกลายเป็น "พืชพิเศษ" ที่สามารถต่อสู้เพื่อดำรงชีวิตได้เหนือกว่าพืชธรรมชาติ และสามารถ ทำลาย พืชธรรมชาติและระบบนิเวศน์
- การวิจัยพบว่า พืช GMO บางชนิดสร้างขึ้นเพื่อผลิตยาฆ่าแมลงได้ด้วยตัวเองนั้น มีอันตราย ต่อตัวอ่อน ของผีเสื้อโมนาร์ค แมลงเต่าทอง ทั้งยังมีผลกระทบต่อแมลงที่มีประโยชน์อีกมากมาย นอกจากนี้เกสรของพืช GMO บางชนิดที่ผลิตสารฆ่าแมลงได้ด้วยตัวเอง ยังเป็นอันตรายกับผึ้ง ซึ่งเป็นสัตว์ ที่มีประโยชน์ ตามธรรมชาติ
- จนกระทั่งถึงตอนนี้ พบว่าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมส่วนมากที่เพาะปลูกกันอยู่ ต้องใช้ควบคู่ กับ ยากำจัดวัชพืช ที่มีพลังสูง ซึ่งมันหมายถึงว่า เมื่อไรที่เกษตรกรปลูกถั่วเหลือง GMO ที่ทนทานต่อยาฆ่าหญ้า ราวด์อัพเร็ดดี้ เกษตรกรก็ต้องฉีดยาฆ่าแมลงราวด์อัพเร็ดดี้
ถั่วเหลือง GMO นั้นจะทนทานและมีชีวิตอยู่ แต่ว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่อยู่บริเวณนั้นจะตาย เท่ากับว่า เป็นการทำลาย แหล่งอาหารของแมลงและสัตว์อีกมากมายที่อาศัยพืชเหล่านั้นในการดำรงชีวิต และเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือข้อมูลทางการแพทย์ ที่บ่งชี้ว่าการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ จะทำให้พันธุกรรมของมนุษย์เปลี่ยนเนื่องจากในความเป็นจริงเมื่อมนุษย์บริโภคอาหารที่มีจีเอ็มโอ ส่วนประกอบทั้งหมดในอาหารจะถูกย่อยสลายโดยระบบย่อยอาหารของมนุษย์เช่นเดียวกับอาหารที่ไม่มีจีเอ็มโอ สำหรับในประเทศไทยเราก็มีหน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยเกี่ยวกับผลผลิตอาหารจากจีเอ็มโอนั่นก็คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยมีมาตรการความปลอดภัยของอาหารทุกชนิด รวมถึงอาหารจีเอ็มโอ โดยมาตรการความปลอดภัยคืออาหารที่มีจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบจะต้องผ่านการพิจารณาประเมินความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยผู้เชี่ยวชาญก่อน จึงสามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนี้ อย. ยังได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่251) พ.ศ. 2545 เรื่องการแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรมเพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค ส่วนหน่วยงานในประเทศไทยที่ทำหน้าที่ตรวจสอบจีเอ็มโอในผลิตภัณฑ์อาหารได้แก่ห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสถาบันอาหาร
การพิจารณาว่าจีเอ็มโอปลอดภัยต่อผู้บริโภคและ/หรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่นั้น จะต้องผ่านการทดสอบหลายด้านเพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรม และมีบทบาทในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป
และก่อนที่ผู้ผลิตรายใดจะนำจีเอ็มโอ หรือผลผลิตจากจีเอ็มโอแต่ละชนิดออกไปสู่ผู้บริโภคได้นั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอทุกชนิด ทั้งที่นำมาบริโภคเป็นอาหาร หรือนำมาปลูกเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ มีความปลอดภัย
ผลกระทบต่อมนุษย์ สังคมและธรรมชาติ
ข้อใหญ่ๆ คือ ความปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป และผู้บริโภค และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ในด้านความปลอดภัยต่อประชาชนทั่วไปและผู้บริโภคนั้น ต้องนึกถึงความเป็นไปได้ที่ สิ่งมีชีวิตข้ามพันธุ์ เช่น เชื้อโรคที่ได้รับยีนใหม่ๆ เข้าไป โดยบังเอิญหรือจงใจก็แล้วแต่จะกระจาย ออกไปเป็นภัยต่อมนุษย์
ความเสี่ยงในการนำพืชข้ามพันธุ์มาใช้ ตัวอย่างเช่น พืชที่มียีนต้านแมลงอยู่ ข้อดี คือ เกษตรกรจะไม่ต้องใช้สารเคมีฆ่าแมลง ซึ่งอาจมีพิษต่อ สิ่งแวดล้อมและต่อสุขภาพของเกษตรกร ข้อเสีย ก็คือ หลายคนเป็นห่วงว่า ยีนดังกล่าวอาจมี ผลกระทบที่ไม่ต้องการ เช่ น
ไปทำอันตรายต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ประเภทผึ้งหรือตัว
กล่าวโดยรวมแล้ว เทคโนโลยีชีวภาพแผนใหม่ทรงพลังสูง และมีศักยภาพมากต่อการส่งเสริมการเกษตร และ อุตสาหกรรม เกินกว่าที่จะปฏิเสธเสียแต่ต้นเพราะกลัวในสิ่งที่ไม่รู้
อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคจะต้อง ได้รับข้อมูลที่ถูกที่ควรการติดฉลากอาหารที่มาจากสิ่งมีชีวิตข้ามพันธุ์นั้นเป็นสิ่งที่ควรทำทำนองเดียวกับอาหารฉายรังสี ที่เคยมีผู้เป็นห่วงว่าจะมีอันตรายต่อผู้บริโภค การติดฉลากระบุว่า เป็นอาหารฉายรังสี ทำให้ผู้บริโภคมีสิทธิ์เลือก
หากผู้บริโภคมีข้อมูลและทางเลือก ปัญหาก็จะค่อยๆ หมดไป
ผลกระทบที่เกิดจากการผลิต Lysozyme , Antimicrobial peptide , Proteome
มนุษย์ ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วด้านการแพทย์และการรักษาพยาบาล
สัตว์ ทำให้เกิดการผลิตยาตัวใหม่ที่ใช้ได้ในสัตว์มากชนิดกว่าเดิม
พืช ทำให้สามารถผลิตพืชที่ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
สิ่งแวดล้อม สารเคมีที่ใช้ผลิตสามารถสลายตัวเองได้ จึงไม่เกิดสารพิษตกค้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น