รูป

Welcome To My Blogger

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

อะไรบ้างที่เป็นข้อดีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย


1. การทำฝนเทียม
ฝนเทียมหรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าฝนหลวง อันเป็นโครงการในพระราชดำริของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ของเรา ฝนหลวงเป็นการจัดการแปรสภาพอากาศให้
เกิดฝนตกในบริเวณที่ต้องการ โดยมีช่วงเวลาที่ตกตลอดพื้นที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้
นับเป็นการจัดการสภาพอากาศเพื่อแก้ปัญหา หรือบรรเทาปัญหา ปริมาณน้ำ เป็นข้อดีของการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในวันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
ให้มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรในภาวะที่เกิดภัยแล้ง
การทำฝนเทียม (Artificial rain enhancement) เป็นการผสมผสานความรู้เทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ
เช่น อุตนิยมวิทยาเคมี ฟิสิกส์ วิศวกรรม และอิเล็กทรอนิกส์ มาดัดแปลงสภาพอากาศเพื่อทำ
ให้เกิดฝนตกในพื้นที่เป้าหมายหรือไปเพิ่มปริมาณน้ำฝน
ให้สูงกว่าที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ฝนเทียมนี้เป็นหนึ่งในงานดัดแปลงสภาพอากาศที่มีอยู่หลายอย่าง
เช่น การลดความรุนแรงของพายุ การทำลายหมอก การหยุดฟ้าแลบ การยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนเมฆ เป็นต้น สำหรับการทำฝนเทียมนั้นมีวิธีที่นิยมกันอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ การฝนหรือโปรยสารเคมีจากเครื่องบินเข้าสู่เมฆ การใช้เครื่องพ่นผงเคมีหรือควันเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆ และการใช้จรวดหรือบอลลูนบรรจุสารเคมี
ให้ไประเบิดในก้อนเมฆประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อย เมฆของเราเป็นเมฆอุ่น เราจึงปฏิบัติการดัดแปลงสภาพอากาศจากเมฆอุ่นโดยที่สภาวะที่เหมาะสมในการทำฝนที่สำคัญอยู่ที่ปริมาณความชื่น
ในอากาศมีมาก ปริมาณและคุณสมบัติการกลั่นตัวมีพอเหมาะ และบรรยากาศไม่มีเสถียรภาพ
โดยเฉพาะการลอยตัวขึ้นสู่บรรยากาศชั้นบน การเกิดฝนในแต่ละวันนั้นมีปัจจัยหลายประการ เราต้องมีวิธีดำเนินการเพื่อให้ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเกิดฝนนั้น คงอยู่ในบริเวณเป้าหมายให้นานที่สุด จะทำเช่นนี้ได้ก็ต้องอาศัยข้อมูลจากการตรวจวัดสภาพอากาศในแต่ละวัน ถ้ามีความเหมาะสมก็จะฝนเทียม

2. กังหันชัยพัฒนา
กังหันชัยพัฒนาหรือกังหันเติมอากาศ เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย ได้ประดิษฐ์ขึ้นจากพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน
ที่ทรงห่วงใยต่อพสกนิกรของของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพอนามัย ทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกร จนเป็นที่เลื่องลือไปถึงต่างประเทศถึงพระราชกรณียกิจของพระองค์
ปัญหามลพิษทางน้ำ นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทรงสนพระทัย ซึ่งได้พระราชทานแซวพระราชดำริให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและองค์กรเอกชนได้ร่วมมือกันอย่างจริงจัง
ในการแก้ไขปัญหานี้ นอกจากนี้ยังทรงคิดค้นประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศให้กับน้ำ เพื่อช่วยในการบำบัดน้ำเสียและได้พระราชทานให้กรมชลประทานและมูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการผลิตสิ่งประดิษฐ์นี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพของแหล่งน้ำ กล่าวคือใช้เพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำนั้น
ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย เช่น การนำไปใช้บำบัดน้ำเสียที่เกิดจากการอุปโภคของประชาชน เน่าเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถที่จะนำไปใช้ในการเพิ่ม
ปริมาณออกซิเจนในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่าง ๆ ทางด้านเกษตรกรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรของประเทศไทย การประดิษฐ์กังหันชัยพัฒนานี้ต้องใช้ความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ หลายด้าน เช่น ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมไฟฟ้า รวมทั้งยังต้องใช้ความสามารถในการออกแบบและ
คำนวณการประดิษฐ์เครื่องกลและกระบวนการทางชีววิทยา จนสามารถทำให้โครงการลุล่วงไปด้วยดี

3. จีเอ็มโอ (GMO)
จีเอ็ทโอ เป็นชื่อเรียกคำย่อของ Genitically Modified Organism) หรือ GMO หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ได้มี
การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรม โดยอาศัยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering)
หรือเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการตัดต่อยีนส์
ประเทศไทยเป็นประเทศที่อาศัยการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัฅญของการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมของประเทศ นอกจากนี้ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรนานาชาติที่มีการเปิดตลาดซื้อขาย
แลกเปลี่ยนสินค้าด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับ
จีเอ็มโออย่างที่จะหลีกเลี่ยงได้ยาก จึงควรที่จะได้มีการศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ชัดเจน ซึ่งจะเห็นได้ว่าด้านการผลิตเทคโนโลยีมีศักยภาพในการพัฒนาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ให้มีคุณภาพและผลผลิตสูง
มีต้นทุนการผลิตต่ำ เพื่อสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ขณะเดียวกันในด้านการนำเข้าสินค้าและผลิตภัณฑ์ ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับจีเอ็มโอจะช่วยให้ประเทศสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติการ
คัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค

4. หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
นโยบายพัฒนาของประเทศไทย หันมาเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในระดับมหภาคและระดับรากหญ้าควบคู่กันไป เพื่อสร้างสมดุลย์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รัฐบาลจึงได้จัดให้มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แต่ละชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนา สินค้า โดยรัฐจะให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่ และการบริหารจัดการเพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาด ทั้งในและต่างประเทศด้วยระบบร้านค้าเครือข่าย
และอินเตอร์เน็ต
กว่าร้อยละ 50 ของสินค้า OTOP เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพจึงเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญมาก
ในการพัฒนาสินค้า OTOP ทั้งนี้เทคโนโลยีที่ผลิตภัณฑ์ชุมชนต้องการเป็นเทคโนโลยีที่ชุมชนสามรถใช้ได้เอง
เช่น การหมัก การบรรจุหีบห่อ การย้อมด้วยสีธรรมชาติ เป็นต้น และสิ่งที่สำคัญอีกประการ
คือ การควบคุมกระบวนการผลิตให้มีความสะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐาน แม้การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถกระทำได้โดยไม่ยากนัก หากแต่ สิ่งที่สำคัญกว่าคือกระบวนการนำเทคโนโลยีไปสู่ชุมชนให้เป็นที่ยอมรับจะต้องกระทำโดยความประณีต และระมัดระวัง เนื่องจากบางผลิตภัณฑ์มีความเกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นวิถีชีวิตของ
ชุมชนและเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก

5. ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) นับเป็นสาขาดเทคโนโลยีหลักที่จำเป็นในการพัฒนาและ
เพิ่มคุณภาพของชีวิต โดยจะต้องรีบเร่งกระจายโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายโทรคมนาคม
และพัฒนาการศึกษาแบบ e – learning , e Education เพื่อขยายโอกาสในการศึกษาของเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ เครือข่ายโทรคมนาคมที่ขยายกว้างไกลนี้จะเป็นการขยายโอกาสในการเข้าถึงบริการแบบ
on – line เช่น e – Government , e – Health ด้วย และในขณะเดียวกัน จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน
เช่น Solar cell , fuel cell เพื่อให้ชุมชนทั้งประเทศไทยได้มีพลังงานที่สะอาดใช้โดยทั่วถึงกันและสามารถ
ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อต่าง ๆ
เช่น โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะต้องให้ความสำคัญต่อการ
พัฒนาวัสดุนำกลับมาใช้ใหม่ (Recyclable material) เพื่อบรรเทาปัญหาการจัดการขยะและส่งเสริมการใช้
เทคโนโลยีสะอาดในกระบวนการผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น