รูป

Welcome To My Blogger

วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554

กฎหมายลักษณะหนี้

กฎหมายลักษณะหนี้

หนี้ ตามปพพ.มิได้มีความหมายเฉพาะการกู้ยืมเงิน แต่หมายถึง ความผูกพันที่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ตามกฎหมาย เช่น หนี้โดยการละเมิด หนี้โดยกฎหมาย เช่น ภาษีอากร เป็นต้น
องค์ประกอบของหนี้ มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.การมีนิติสัมพันธ์ (ความผูกพันกันในกฎหมาย) หากกฎหมายไม่รองรับการนั้นก็ไม่เกิด
หนี้ผูกพันด้วย
2.การมีเจ้าหนี้และลูกหนี้(เป็นบุคคลสิทธิ)
3.ต้องมีวัตถุแห่งหนี้ ได้แก่
- หนี้กระทำการ เช่น ลูกจ้างต้องทำงานให้นายจ้าง
- หนี้งดเว้นกระทำการ เช่น ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องงดเว้นไม่ทำการค้าแข่งกับห้างหุ้นส่วน
- หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน(หรือโอนกรรมสิทธิ์) เช่น ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่า
บ่อเกิดแห่งหนี้
1.หนี้ เกิดโดย นิติกรรม-สัญญา ซึ่งเมื่อมีการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้น ก็ย่อมเกิดความเป็นเจ้าหนี้-ลูกหนี้ขึ้น โดยปกติ เมื่อเกิดหนี้ ลูกหนี้จะหลุดพ้นจากเคราะห์แห่งหนี้ได้ด้วยการชำระหนี้ ซึ่งจะชำระหนี้อย่างไรนั้น ย่อมเป็นไปตามที่ตกลงในสัญญาที่ทำลง กฎหมายจะไม่ยุ่งเกี่ยว แต่จะคอยควบคุมอยู่กว้าง ๆ มิให้ออกนอกกรอบที่กฎหมายระบุ เพราะนิติกรรมเป็นบรรดากรณีที่กฎหมายไม่อาจกล่าวได้ทั้งหมด เช่นการซื้อขายรถยนต์ การเช่าหมู เป็นต้น การตกลงกันทางธุรกิจ กฎหมายจึงไม่เกี่ยวข้องด้วย แต่กำหนดกรอบมิให้กระทำทุจริตเท่านั้น
บาง ทีมีการกระทำ(ซึ่งมีผลทางกฎหมาย) แต่มิได้มุ่งหมายผูกพันประการใด เช่น เราทำละเมิดตีหัวคนอื่นเขา แต่มิใช่เป็นเรื่องที่จะผูกนิติสัมพันธ์ว่า เมื่อตีหัวเขาแล้วจะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เขา จึงปรับเข้าลักษณะนิติกรรมไม่ได้ [3] กระนั้น ผู้ทำผิดดังกรณีนี้เป็นละเมิด ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายกระนั้นหรือ? กฎหมายเองได้คุ้มครองกรณีนี้ไว้ เรียกว่า “นิติเหตุ”
2.หนี้ เกิดโดยนิติเหตุ คือ เหตุที่เกิดขึ้นโดยการกระทำซึ่งไม่มุ่งก่อให้เกิดผลตามกฎหมาย แต่กฎหมายจะเอาเรื่องว่า กระทำดั่งนี้ผิด และต้องชดใช้ เช่น ละเมิด ลาภมิควรได้(ได้ทรัพย์สินเกินส่วนที่ควรจะได้) หรือ เป็นนิติเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น บุตรจำเป็นต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา(กรณีนี้เป็นหนี้เนื่องจากสถานะของ บุคคล)[4] เป็นต้น โดยผู้กระทำผิดตามหนี้ลักษณะนี้ ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งเหตุ
กำหนดการชำระหนี้
หาก คู่กรณีมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน กฎหมายให้ถือว่า หนี้นั้นต้องถึงกำหนดชำระโดยพลัน แต่ถ้าตกลงกันไว้แล้ว ก็ให้เป็นไปตามที่ตกลงไว้
การชำระดอกเบี้ย หากตกลงอัตราดอกเบี้ยกันไว้ กฎหมายให้คิดอัตราไม่เกินร้อยละ15ต่อปี
กรณีมิได้ตกลงอัตราดอกเบี้ยกันไว้ ให้คิดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
*หาก ฝ่าฝืน คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด คือ เกินร้อยละ15ต่อปี กฎหมายให้ถือว่าดอกเบี้ยนั้น เป็นโมฆะ มิให้คิดดอกเบี้ยเลย แต่เงินต้น(ที่เป็นหนี้)นั้น ลูกหนี้ยังคงต้องชำระอยู่
คำถาม หนี้จะระงับสิ้นด้วยวิธีใดบ้าง ?

ตอบ หนี้จะระงับสิ้น(ไม่ต้องใช้หนี้อีก) มีเพียง 5 กรณีนี้เท่านั้น คือ
1.การชำระหนี้ เข้าหลัก “มีหนี้ต้องชำระ”
2.การปลดหนี้ คือ เจ้าหนี้ยอมปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยเสน่หา ทำโดยขีดฆ่า หรือ คืนเอกสารหลักฐานการเป็นหนี้ให้แก่ลูกหนี้เสีย
3.การหักกลบลบหนี้ คือ บุคคลทั้งสองมีความเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน ก็เอาหนี้ซึ่งกันและกันมาหักกลบกันไป
4.การ แปลงหนี้ใหม่ คือ เปลี่ยนสาระสำคัญของหนี้ เช่น เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ เปลี่ยนตัวลูกหนี้ เปลี่ยนวัตถุแห่งหนี้ ตัวอย่าง นาย ก. เป็นหนี้ นายข.อยู่500บาท พอถึงกำหนดชำระหนี้ นาย ข.ผู้เป็นเจ้าหนี้ ก็ให้นายก.ตัดหญ้าในสนามหลังบ้าน เป็นการชำระหนี้แทนเงิน
5.หนี้เกลื่อน กลืนกัน คือ หนี้ที่ความเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้อยู่ในตัวคนเดียวกัน เช่นนาย ข. เป็นหนี้นาย ก.5พันบาท แต่ภายหลังนาย ก.ตาย และทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่นาย ข . แต่เพียงผู้เดียว เช่นนี้กฎหมายให้ถือว่าหนี้ระงับสินไป เพราะสิทธิและหน้าที่ของผู้ตาย ตกอยู่ในตัวคนผู้เป็นลูกหนี้แล้ว
***ระวัง กรณีหนี้ขาดอายุความนั้น เป็นเพียง กรณีที่หนี้นั้นไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีต่อกันได้เท่านั้น แต่สภาพความเป็นเจ้าหนี้-ลูกหนี้นั้น ยังคงอยู่ หนี้หาได้ระงับสิ้นไปไม่
คำถาม กฎหมายลักษณะหนี้มีความสำคัญมากน้อยเพียงใดในปัจจุบันนี้ ?

ตอบ ใน ทางการศึกษากฎหมาย เมื่อเรียนรู้กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญาแล้ว มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ผลสืบเนื่องจากนิติกรรมและสัญญาต่อ ผลสืบเนื่องที่ว่านั้นก็คือ เรื่อง “หนี้” เพราะนิติกรรมสัญญาเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของหนี้ ท่านอาจารย์เปรียบเทียบว่า “วิชา นิติกรรมและสัญญาเหมือนการสร้างห้องห้องหนึ่ง ซึ่งผู้สร้างจะต้องเข้าใจเรื่องวิธีการสร้าง ขั้นตอนการสร้าง โครงสร้างหรือองค์ประกอบต่าง ๆ จนกระทั่งสร้างห้องเสร็จ วิชากฎหมายลักษณะหนี้จะไม่สนใจรายละเอียดเหล่านั้น แต่จะรับช่วงต่อ คือ มาศึกษาการอยู่ การใช้ การรักษาห้องต่อไป เป็นเรื่องสิทธิและหน้าที่ที่ผู้อยู่ในห้องนั้นจะต้องกระทำ ต้องดูแลเอาใจใส่เมื่อมีการสร้างห้องมาแล้ว วิชาลักษณะแห่งหนี้จึงเป็นวิชาที่ต้องเรียนสืบเนื่องจากนิติกรรมและสัญญา”
นอกจากนี้ พบว่าในหลักเรื่องหนี้นั้น ถ้าสาวความเป็นมาก็มีมาตั้ง 2,000 กว่าปี คือ ตั้งแต่สมัยโรมัน มีการเขียนไว้นานมาก แต่ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แม้โดยรายละเอียดจะต่างกัน แต่หลักการสำคัญก็ยังคงเดิม กฎหมายเรื่องหนี้เป็นหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยความถูก ความผิด ความดี ความชั่ว มีเหตุผลในตัวของมันเอง แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไป หลักการนี้ก็ยังคงอยู่
ที่ สำคัญในปัจจุบันนั้น พบว่า สัญญาในเอกเทศสัญญาบรรพ 3 มีชื่อสัญญาประเภทต่าง ๆ ที่มีบทบัญญัติ จำนวน 23 ชื่อเท่านั้น แต่ในทางธุรกิจปัจจุบันมีมากกว่านี้เยอะ ที่มีชื่อต่างจากชื่อสัญญาตามบทบัญญัติทางกฎหมาย (เช่น สัญญาแชร์เปียหวย) ปัญหาจึงมีอยู่ว่าเวลาเกิดเรื่องใครจะรับผิดชอบ จะเอากฎหมายอะไรมาว่า สัญญาบางอย่างก็เขียนไว้ไม่หมด สิ่งที่จะเอามาใช้แก้ปัญหาก็คือ กฎหมายลักษณะหนี้ : หลักทั่วไปนี้แหล่ะ กฎหมายลักษณะหนี้จึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน....ท่านอาจารย์ยังย้ำอีกว่า หนี้หลักทั่วไปนี้ใช้เป็นฐานของมูลหนี้ทุกเรื่องได้ ในปัจจุบันนี้ ป.พ.พ. ตั้งแต่มาตรา 194-353 ซึ่งเป็นเรื่องหนี้จึงใช้มากกว่าอดีตมากทีเดียว

คำถาม หนี้คืออะไร ?

ตอบ คำจำกัดความของคำว่า “หนี้” นั้นมีอยู่ว่า “ความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุคคลฝ่ายหนึ่ง (ลูกหนี้) ที่จะต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง (เจ้าหนี้)” คำว่า “หนี้” จึงเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ในทางกฎหมายระหว่างบุคคลสองฝ่าย กล่าวคือ ความสัมพันธ์อันนั้นมีกฎหมายรองรับอยู่ ซึ่งความสัมพันธ์บางอย่างนั้น ไม่มีกฎหมายรองรับ เช่น การบอกรักกัน ไม่มีกฎหมายรองรับ หรือ คนจะทำดีบุญกุศล ถึงแม้จะเป็นเรื่องความถูกต้องดีงามที่ศาสนาต่าง ๆ ก็ส่งเสริม แต่ก็ไม่มีกฎหมายไหนเขียนไว้ว่า คนในรัฐต้องทำบุญ อย่างนี้เรียกว่า ไม่มีกฎหมายรองรับ แต่ว่าเรื่องหนี้มีกฎหมายรองรับ มีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง “สิทธิ” และ “หน้าที่” ดัง ในมาตรา 194 และ 213 บ่งชัดเรื่องหน้าที่ของลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ และสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ กรณีที่ลูกหนี้ไม่ทำตามสัญญา เป็นต้น
คำถาม ในชีวิตประจำวันคุณเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ?

ตอบ แม้เราจะไม่ต้องการเป็น “เจ้าหนี้” หรือ “ลูกหนี้” แต่ โดยความเป็นจริงตามหลักการทางกฎหมาย เราเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ทุกวัน ดังเช่นในสัญญาซื้อขาย เมื่อเราตกลงซื้อสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ในฐานะผู้ซื้อเราเป็น “เจ้าหนี้” มีสิทธิที่จะได้รับสินค้า(ทรัพย์) จากผู้ขายซึ่งอยู่ในฐานะ “ลูกหนี้” ที่มีหน้าที่จะต้องส่งมอบสินค้า(ทรัพย์)ให้เรา ในทางกลับกันในฐานะเป็นผู้ซื้อ เราก็ยังเป็น “ลูกหนี้” มีหน้าที่จะต้องชำระราคาแก่ผู้ขาย ซึ่งเป็น “เจ้าหนี้” มีสิทธิที่จะได้รับเงิน(การชำระราคา) จะเห็นได้ว่า ในชีวิตประจำวันนั้นเราเป็นได้และได้เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ อย่างนี้นี่เอง
ดูตัวบทกฎหมายประกอบ ม.461 (เรื่องการส่งมอบทรัพย์สิน) ม.453 (เรื่องการโอนกรรมสิทธิ์) และ ม.486-487 (เรื่องการชำระราคา)
คำถาม องค์ประกอบสำคัญแห่งหนี้คืออะไร ?

ตอบ องค์ประกอบสำคัญแห่งหนี้นั้นมี 3 ประการ ได้แก่
1) ลูกหนี้
2) วัตถุแห่งหนี้
3) เจ้าหนี้
ในบรรดา 3 ประการนี้ ข้อ 1 และ 2 สำคัญที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่จะต้องรู้และต้องมีแน่เวลามีมูลหนี้เกิดขึ้น จะบอกลอย ๆ ว่า “จะมีการชำระเงินเกิดขึ้น “ โดยไม่มีลูกหนี้และวัตถุแห่งหนี้ไม่ได้เลย ใครเป็นลูกหนี้ หรือใครมีหน้าที่จะต้องทำและทำอะไร เพราะฉะนั้น ลูกหนี้จะต้องมีเสมอเมื่อหนี้เกิด และวัตถุแห่งหนี้ก็ต้องมีด้วย “วัตถุแห่งหนี้” คือ ความผูกพันที่จะต้องทำการชำระสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือคำตอบที่ว่าลูกหนี้จะต้องทำอะไรนั่นเอง
ทั้ง นี้ เจ้าหนี้นั้น โดยปกติก็ต้องมีด้วย แต่บางกรณีเจ้าหนี้ไม่มีก็ได้ อาจเกิดคำถามว่า ลูกหนี้จะไปชำระให้ใครในเมื่อไม่มีเจ้าหนี้ ความหมายก็คือ มีบางกรณีที่ในขณะที่หนี้เกิดขึ้นนั้น อาจจะยังไม่ยังไม่แน่นอนว่าคือใคร เช่นกรณีเรื่องตั๋วเงิน ซึ่งจะต้องชำระหนี้ตามคำสั่ง คือ ต้องรอคำสั่งว่าผู้ที่ถือตั๋วเงินอยู่จะต้องไปชำระเงินกับใคร (ชำระหนี้ตามเขาสั่ง) เพราะฉะนั้นในขณะนี้เจ้าหนี้ยังไม่มีและลูกหนี้ก็ไม่รู้ว่าจะชำระหนี้กับใคร
คำถาม วัตถุแห่งหนี้คืออะไร ?

ตอบ หลายคนมักเข้าใจว่า”วัตถุ” หมายถึง สิ่งมีรูปร่าง ตามความหมายในพจนานุกรม แต่ในทางกฎหมายหาเป็นเช่นนั้นไม่ วัตถุแห่งหนี้ (subject of obligation) หมายถึง ตัวเนื้อหาของการชำระหนี้ กล่าวคือ ลูกหนี้มีหน้าที่ชำระหนี้ จะต้องทำอะไร ซึ่งมี 3 ประการ ได้แก่
1) กระทำการ เช่น การทำตามสัญญาจ้างแรงงาน เช่น โรงงานประกอบเครื่องยนต์ มีสัญญาจ้างงานลูกจ้างมาทำหน้าที่ประกอบเครื่องยนต์ ลูกจ้างต้องกระทำการตามสัญญาซึ่งอาจจะด้วยแรงกายหรือสติปัญญาก็ตาม ในฝ่ายโรงงานก็มีหน้าที่ที่จะต้องทำตามสัญญา เช่น การชำระค่าจ้างเป็นต้น
2) งดเว้นกระทำการ ในมาตรา 194 วางหลักไว้เกี่ยวกับการงดเว้นกระทำการว่า ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ด้วยการงดเว้นกระทำการอันใดอันหนึ่งก็ได้ เช่น ข้อตกลงห้ามแข่งขันทางการค้าหรือกรณีห้ามนักร้องที่สังกัดค่ายเพลงคู่สัญญา ไปร้องเพลงกับค่ายอื่น เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า “งดเว้นกระทำการ” คือ อยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไรก็เป็นการชำระหนี้ได้
3) ส่งมอบทรัพย์สิน เช่น กรณีที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามสัญญา
ข้อสังเกต

เวลา เราพูดถึงเรื่องหนี้กระทำการ ย่อมเป็นเรื่องทางกาย สติปัญญาความสามารถ ส่วนประเด็นนี้เป็นเรื่องของการเคลื่อนที่ของตัวทรัพย์ การส่งทรัพย์ ต่างจากการกระทำทางกายภาพและอาจจะต่างกันที่อาจจะมีการบังคับการไม่เหมือน กัน เห็นได้ชัดในมาตรา 213 เนื่องจากเรื่องการส่งมอบทรัพย์ ศาลสั่งบังคับให้ลูกหนี้ชะรำหนี้ให้เจ้าหนี้ได้เสมอ แต่กรณีที่ลูกจ้างเบี้ยวงาน จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้ลูกหนี้ทำงานไม่ได้และไม่มี อย่างดีก็แค่ไล่ออก เพราะการกระทำนั้นอยู่ในสภาพแห่งหนี้ที่ไม่เปิดช่อง แต่ถ้าจะแปลงเป็นค่าเสียหายก็ได้ (ม. 213)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น