รูป

Welcome To My Blogger

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

ย่อหลักกฎหมายหนี้

ย่อหลักกฎหมายหนี้

ข้อที่ 2 จะเป็นกฎหมายหนี้ นิติกรรมสัญญา หนี้??ม.194 ? ม.353 , นิติกรรม ??ม.149 ? ม.181 , สัญญา??ม.354 ? ม.394
ซึ่งในกฎหมายหนี้ จะมีขอบเขตและเนื้อหา ที่เราสามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
2.1 ชุดวัตถุแห่งหนี้??ม.ที่สำคัญ คือ ม.194 + ม.195 + ม.196 + ม.198 + ม.202
2.2 ชุดผิดนัด??เราสามารถแยกออกเป็นชุดย่อยๆได้ดังนี้
2.2.1 ชุดลูกหนี้ผิดนัด??ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.203 + ม.204 + ม.206?.โดยมี ม.205 เป็นข้อยกเว้น ??เป็นส่วนคัญอันหนึ่งของกฎหมายหนี้??จึงควรทำความเข้าใจให้ดี
2.2.2 ชุดเจ้าหนี้ผิดนัด??ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.207 + ม.210??โดยมี ม.211 + ม.212
เป็นข้อยกเว้น
2.3 ชุดสิทธิของเจ้าหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัด??ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.213 + ม.214 + ม.215 + ม.216??ในส่วนนี้เราควรทำความเข้าใจว่า เมื่อลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว เจ้าหนี้ย่อมที่จะเกิดสิทธิดังต่อไปนี้ขึ้นมา กล่าวคือ
2.3.1 สิทธิในการที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจง ตาม ม.213
2.3.2 สิทธิในการที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิง ตาม ม.214
2.3.3 สิทธิในการที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดจากการที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ตาม ม.215?..ในส่วนนี้ให้ดู ม.222 + ม.223 ประกอบด้วยจะดีมากครับ??( โดยเฉพาะ ม.223 นั้น สามารถโยงไปหา ม. 442 ของกฎหมายละเมิดได้ด้วย )
2.3.4 สิทธิในการบอกปัดไม่รับชำระหนี้ ถ้าการชำระหนี้นั้นเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ตาม ม.216
2.3.5 สิทธิในการบอกเลิกสัญญา ตาม ม.387 + ม.388
2.4 ชุดความรับผิดของลูกหนี้??.ม.ที่สำคัญๆในส่วนนี้ ก็คือ ม.217 + ม.218 + ม.219ในส่วนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งอันหนึ่งของกฎหมายหนี้??ดังนั้นจึงควรที่จะทำความเข้าใจให้ดี??และในส่วนนี้สามารถโยงไปหา ม.370 + ม.371 + ม.372 ได้ และมักจะนำมาออกคู่กันอยู่เสมอๆ??ดังนั้นจึงควรที่จะต้องดูเชื่อมโยงกันด้วยจะดีเอามากๆ?..( ในส่วนนี้ถ้ามีเวลาผมอาจจะเขียนบทความเอาไว้ให้??อย่างไร ก็ช่วยเตือนผมด้วยนะครับ )
2.5 ชุดเครื่องมือของเจ้าหนี้ในการที่จะบังคับให้สมดังสิทธิของเจ้าหนี้??ในส่วนนี้เราควรที่จะทำความเข้าใจก่อนว่า ในระหว่างที่เป็นเจ้าหนี้เป็นลูกหนี้กันนั้น อาจจะมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมา แล้วอาจทำให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่มีต่อลูกหนี้สูญ เสียหรือเสียหายได้??ดังนั้นกฎหมายจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ ( ซึ่งเราจะเรียกในที่นี้ว่า เครื่องมือของเจ้าหนี้ ) ขึ้นมา??เพื่อให้เจ้าหนี้ได้ใช้บังคับไม่ให้สิทธิที่ตนมีอยู่นั้นต้องสูญเสีย หรือเสียหายไป นั่นเอง??โดยเครื่องมือของเจ้าหนี้มีดังต่อไปนี้
2.5.1 รับช่วงสิทธิ??ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.226 + ม.227 + ม.228 + ม.230
2.5.2 การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้??ม.ที่สำคัญ คือ ม.233 + ม.235 + ม.236
2.5.3 เพิกถอนการฉ้อฉล??ม.ที่สำคัญ คือ ม.237 + ม.238
2.3.4 สิทธิยึดหน่วง??ม.ที่สำคัญ คือ ม.241 + ม.242 + ม.243 +ม.24

2.6 ชุดเจ้าหนี้ร่วมลูกหนี้ร่วม??ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.290 + ม.291 + ม.292 + ม.294 + ม.296 + ม.300 + ม.301
2.7 ชุดโอนสิทธิเรียกร้อง??ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.303 + ม.304 + ม.306 + ม.308
2.8 ชุดความระงับแห่งหนี้??ในส่วนนี้พึงควรทำความเข้าใจก่อนว่า จะมีเฉพาะแต่กรณีดังต่อไปนี้เท่านั้นที่จะทำให้หนี้ที่มีอยู่นั้นระงับลงไป??.ดังนั้นถ้านอกเหนือไปจากนี้แล้วย่อมไม่ทำให้หนี้ที่มีอยู่นั้นระงับลงไปแต่อย่างใดไม่??.ซึ่งกรณีที่ทำให้หนี้ระงับมีดังต่อไปนี้
2.8.1 การชำระหนี้??.ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.314 + ม.315 + ม.320 + ม.321 + ม.330 + ม.331
2.8.2 ปลดหนี้??ม.ที่สำคัญ คือ ม.340
2.8.3 หักกลบลบหนี้??ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม. 341 + ม.342 + ม.344 + ม.345 + ม.346
2.8.4 แปลงหนี้ใหม่??ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.349 + ม.350 + ม.351
2.8.5 หนี้เกลื่อนกลืนกัน??ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.353

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น